รวมภาพกิจกรรม

แสดงความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นำเสนอผลงงาน การทดลองสอน โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ

     บันทึกการนำเสนอ โรงเรียนที่นักศึกษาได้ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ขั้นทดลองการสอน ในด้านต่างๆ เช่น สภาพโรงเรียน ประสบการณ์ที่ได้รับ ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา ของนางสาวนิภาพร นพเกล้า และนางสาวกฤษณา ชะระจำนงค์ โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ




โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ (ชิตประชาสรรค์)

ข้อมูลโรงเรียน
                โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ (ชิตประชาสรรค์) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2471 โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดเสม็ดเหนือ จัดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปี 1-4 มี นายสนั่น เอียวเจริญ เป็นครูใหญ่คนแรก
                ในปี พ.ศ. 2500 เจ้าอาวาสวัดเสม็ดเหนือ พระครูวิชิตสารคุณ ได้หาเงินสมทบกับทางราชการ สร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศแล้วเสร็จ
                ในปี พ.ศ.2501 และได้ใช้สร้อยว่าชิตประชาสรรค์
                ในปี พ.ศ. 2514 เปิดทำการสอนถึงระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.7) ประเภทไม่บังคับ
                ในปี พ.ศ. 2515 ย้ายสถานที่มาสร้างอาคารเรียนใหม่ (ที่อยู่ปัจจุบัน) ใช้เลขที่บ้าน 52/2 หมู่ที่ 1 ตำบล เสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
                ในปี พ.ศ. 2518 เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษาตอนปลายภาคบังคับ
                ในปี พ.ศ. 2535 เปิดทำการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้น ม.1 – 3 ตามโครงการขยายทางการศึกษา
                ในปี  พ.ศ. 2539 ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงเรียนศูนย์ปฏิรูปการศึกษาของกลุ่มโรเรียนเสม็ด
                ในปี  พ.ศ. 2540 เปิดทำการสอนระดับก่อนประถมศึกษา ชั้นอนุบาล 3 ขวบ แบบช่วยเหลือตัวเอง
                ในปี  พ.ศ. 2541 ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการโรงเรียนสีขาว
                ในปี  พ.ศ. 2542 ได้รับอนุญาตให้ทำการสอนระดับก่อนประถมศึกษา ชั้นอนุบาล 3 ขวบ อย่างเป็นทางการ
                ในปี  พ.ศ. 2544 ได้รับการคัดเลือกเข้า ร่วมโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ในปี 2545
                ในปี  พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่วก.1166/2544 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2544 ซึ่งจะต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาใช้เอง ในปีการศึกษา 2545
                ในปี  พ.ศ. 2546 ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ของอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

วิสัยทัศน์
                โรงเรียนเสม็ดเหนือ (ชิตประชาสรรค์) มุ่งมั่นให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ โดยเน้นให้อ่านออก เขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย รักษาสิ่งแวดล้อม มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ปลอดสารเสพติด สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุน

จุดมุ่งหมาย
                1. เพื่อให้บริการการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตบริการได้อย่างทั่วถึง
                2. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                3. ปลูกฝังจิตสำนึก การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เสรีภาพ เคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
                4. เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ ศาสนา การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
                5. เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย
                1. นักเรียนมีวินัยในตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม
                2. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านออก เขียนได้
                3. นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้
                4. นักเรียนมีทักษะ และกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                5. นักเรียนมีศิลปะ วัฒนธรรม รักษาสิ่งแวดล้อม
                6. นักเรียนมีสุขภาพ พลานามัยแข็งแรง ปลอดสารเสพติด
                7. นักเรียนเคารพ ปฏิบัติ ตามกฎ กติกาของชุมชนและสังคม

คุณลักษณะที่พึงประสงค์
                1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
                2. ซื่อสัตย์สุจริต
                3. มีวินัย
                4. ใฝ่เรียนรู้
                5. อยู่อย่างพอเพียง
                6. มุ่งมั่นในการทำงาน
                7. รักความเป็นไทย
                8. มีจิตสาธารณะ

คำขวัญ
                ความรู้ดี มีคุณธรรม ก้าวนำเทคโนโลยี รักศักดิ์ศรีความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างงานพื้นฐานอาชีพ

ปรัชญา
                ปญญา ปฏิลาโก : ปัญญาพาให้เกิดสุข

รายงานผลการทดลองสอน

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
                จากการที่ได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทำให้เราเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการปรับตัวเข้ากับโรงเรียน และนักเรียนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราต้องรับบทบาทในฐานะครูผู้สอนที่สอนนักเรียนในชั้นเรียนจริงๆ ทำให้เราได้รู้จักการใช้เทคนิควิธีการสอน การแก้ไขปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน  และทำให้เรานำประสบการณ์ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในครั้งนี้ ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาที่สั้นๆ แต่เราสามารถนำสิ่งที่เราได้รับมาปรับปรุงแก้ไข ข้อผิดพลาด เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกไปฝึกสอนในภาคการศึกษาต่อไป และการเป็นครูที่ดีในอนาคตได้อีกด้วย

ปัญหา / อุปสรรคที่พบจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
                1. ปัญหาด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเรียนการสอน
                                คอมพิวเตอร์ค่อนข้างมีปัญหาบ่อยในการเรียนการสอน อินเตอร์เน็ทค่อนข้างช้า และไม่มีโปรเจคเตอร์ ทำให้เวลาที่มีการเรียนการสอนทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากนักเรียนไม่สามารถเรียนตามสิ่งที่ครูสอนได้พร้อมกัน
                2. ปัญหาด้านนักเรียน
                                คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เนื่องจากนักเรียนในหนึ่งชั้นเรียนมีจำนวนค่อนข้างมาก นักเรียนต้องนั่งเรียนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมากกว่า 2 คน จึงทำให้นักเรียนบางคนไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์

แนวทางการแก้ไข
                1. ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการเรียนการสอน
                                ในการเรียนการสอน หลีกเลี่ยงการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ท โดยครูทำใบงาน หรือเขียนเนื้อหาสิ่งที่สอนไว้บนกระดานดำ เวลาสอนต้องพยายามอธิบายเนื้อหาไปพร้อมกับให้นักเรียนทำตามสิ่งที่ครูสอน ถ้าใครไม่เข้าใจให้ถาม เพื่อนักเรียนจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกันทั้งห้อง
                2. ปัญหาด้านนักเรียน
                                ให้นักเรียนที่นั่งเกินเครื่องละ 2 คน แต่ต้องไม่เกิน 3 คน โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนทุกคน โดยครูต้องเป็นผู้กระตุ้น และทำความเข้าใจกับนักเรียนในการแบ่งกันใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการเรียนการสอน เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ทุกคน

ประมวลภาพกิจกรรม







0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น